พาลูกตามรอยพ่อ ร.9 กับ สิงห์อาสา โรงเรียนเกษตรพอเพียง

เที่ยวแบบกรู พาลูกไปตามรอยพ่อ ร.9 กับโครงการ “สิงห์อาสา” ที่ครอบครัวของเราได้ยินชื่อมาหลายปีแต่ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมสักที แต่ปีนี้โอกาสที่จะพาลูกไปเรียนรู้โครงการนี้พร้อมๆ กันมาถึงแล้ว ไปดูภาพกิจกรรมดีๆ กันเลยค่ะ

โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน “สิงห์อาสา เกษตรพอเพียง”  เริ่มต้นโดย คุณปิติ ภิรมย์ภักดี กก.บริหาร บ.บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มุ่งส่งเสริมให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องการทาเกษตรกรรมแบบยั่งยืนโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับเกษตรกรเชียงราย และใกล้เคียง

เริ่มต้นจากการน้อมนาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นแนวทาง และศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้าน จ.เชียงราย และ จ.สิงห์บุรี ที่หาโมเดลที่ทาได้จริง ในการสร้างโครงการอาหารกลางวันอย่างยั่งยืน ด้วยเงินทุนตั้งต้น 30,000 บาท กับเป้าหมายดูแลนักเรียน 100 คนใน 1 โรงเรียน ประกอบด้วย 4ส่วนสาคัญที่หล่อเลี้ยงปากท้องและสร้างประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ได้แก่
1.ฟาร์มไก่ไข่
2.โรงเพาะเห็ด
3.บ่อเลี้ยงปลา และ
4.แปลงผักหลักสำคัญของเกษตรพอเพียง คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต เช่น การปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ของตนเอง บริเวณนี้มีบ่อปลาดุกเป็นเหมือนบ่อสาธิตให้ทุกคนสามารถมาเรียนรู้ได้

หัวใจสาคัญของโครงการนี้คือ การนาเงินทุนตั้งต้น 30,000 บาท ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองและนาผลผลิตที่ได้มาต่อยอด ขยายการเติบโตอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน

ความสาเร็จที่จับต้องได้ของโครงการ โรงเรียนเกษตรพอเพียง ทาให้โครงการนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ “Asia Responsible Entrepreneurship Awards” (AREA) ในสาขาการเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social Empowerment) ประจาปี 2560 จากเอ็นเตอร์ไพรส์ เอเชีย อีกด้วย

เมลลี่ดูตั้งใจดู ตั้งใจอ่านมากเลยค่ะ ^^

ศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้าน

หลังจากนั้นเราไปที่ศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้านกัน หรือ ปราชญ์ชาวบ้าน อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นเพื่อมอบองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทางด้านการเกษตรอินทรีย์ให้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน  เพื่ออบรมทักษะและให้ความรู้ที่สำคัญในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร แก่ตัวแทนเกษตรกรของแต่ละอำเภอ ในจังหวัดเชียงรายกว่า 100 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับพื้นที่ไร่นาของตนเอง และยังสามารถนำไปเผยแพร่ต่อในชุมชนของตนเองอีกด้วย 

ปราชญ์ชาวบ้านนำโดย อาจารย์พรรณพิมล ปันคำ กำลังให้ความรู้กับ นักศึกษาเครือข่ายสิงห์อาสาชาวต่างชาติที่มาร่วมกิจกรรมนี้กว่า 50 คน หลังจากกิจกรรมนี้เชื่อว่านักศึกษาชาวต่างชาติทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้วิถีเกษตรไปปรับใช้ในประเทศของตนเองได้  

โดยครั้งนี้เราได้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำปุ๋ยนมวัว โดยทุกคนจะได้ทำจริงด้วยตนเอง

กลุ่มนี้เป็นการทำ ฮอร์โมนไข่สำหรับสัตว์

นอกจากนั้นยังได้ทานอาหารท้องถิ่น ขนมหาทานยาก 

อย่างเมนูนี้เรียกว่า ข้าวแรมฟืน ทำกับน้ำจิ้มหลายแบบปรุงรสตามใจชอบ

ทั้งหมดนี้คือผลิตภัณฑ์ของกลุ่มค่ะมีจำหน่ายด้วย

หลังจากนั้นเราก็ได้ไปลงมือปฎิบัติจริง ไปปลูกผักกันค่ะ

ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน

ไม่นานก็เสร็จเรียบร้อย ตอนนี้แปลงผักคงจะงามแล้วอยากกลับไปอีกจัง

ปัจจุบันศูนย์ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลาง และได้จัดตั้งศูนย์ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ขอนแก่น และ จ. สิงห์บุรี

บ่ายๆ เราไปเกี่ยวข้าวกัน อยากจะบอกว่าเรื่องเกี่ยวข้าวแม่ไข่ถนัดมาก เป็นลูกชาวนาค่ะเกี่ยวข้าวมาแต่เด็กๆ

แปลงนาข้าวเกษตรอินทรีย์งามมาก

ร่วมแรงร่วมใจกันแป๊บเดียวก็เกี่ยวกันเสร็จ

เช้าอีกวันเราไปที่โรงเรียนบ้านสันกลาง อ.เมือง เชียงราย 

ที่นี่ทีมสิงห์อาสาจะมาช่วยสร้างเรือนเพาะเห็ด ซ่อมเล้าไก่ ทำแปลงผัก

การพาเด็กๆ มาทำกิจกรรมแบบนี้ด้วย ลูกๆ จะได้ซึมซับตั้งแต่เด็กถือเป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ

ที่โรงเรียนบ้านสันกลางมีเล้าไก่ไข่ที่แม่พันธุ์อ้วนท้วนสมบูรณ์มาก แปลงผักหน้าเล้าก็งามเช่นกัน

ครอบครัวของเราดีใจที่ได้พาลูกมาเรียนรู้นอกบ้าน ได้ทำกิจกรรมร่วมกับทีมสิงห์อาสา และปราญช์ชาวบ้าน ความรู้ทุกอย่างในโลกใบนี้จะไม่เกิดประโยชน์ขึ้นมาเลยหากไม่ได้ลงมือทำจริงๆ  ):

หากเพื่อนๆ สนใจอยากร่วมโครงการ หรืออยากไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.singha-arsa.org

teawbebgru

เราก็แค่ครอบครัวที่รักการเดินทาง ดีใจที่ได้พาลูกท่องโลกกว้างด้วยกัน ขอบคุณที่เข้ามาอ่านเรื่องเล่าของเรานะคะ ^^ติดต่องาน E-mail : [email protected]

ใส่ความเห็น